คำเตือนเพื่อความปลอดภัยสำหรับเครื่องขัด

  • เครื่องมือไฟฟ้านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้งานเป็นเครื่องขัดเงา อ่านคำเตือนเพื่อความปลอดภัย คำแนะนำ ภาพประกอบ และข้อมูลจำเพาะทั้งหมดที่จัดส่งมาพร้อมกับเครื่องมือไฟฟ้า การ‌ไม่‌‌‌ปฏิบัติ‌‌ตามคำแนะนำ‌‌ทั้งหมด‌‌ที่‌‌ระบุ‌‌ไว้‌‌ด้านล่าง‌นี้‌‌อาจ‌‌ทำให้‌‌‌ถูก‌‌‌ไฟฟ้า‌‌‌ดูด เกิด‌‌‌‌ไฟไหม้ และ/‌‌หรือ‌‌‌ได้รับ‌‌‌‌บาดเจ็บ‌‌‌อย่าง‌‌‌ร้ายแรง
  • ไม่แนะนำให้ใช้เครื่องมือไฟฟ้านี้สำหรับงานเจียระไน ขัดด้วยกระดาษทราย ขัดด้วยแปรงลวด หรือตัดออก เป็นต้น หาก‌ใช้‌‌เครื่อง‌‌ทำงาน‌‌ที่‌‌ไม่ได้‌‌ถูก‌‌ออกแบบ‌‌มา‌‌สำหรับ‌‌งาน‌‌นั้นๆ อาจ‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌อันตราย‌‌และ‌‌บาดเจ็บ‌‌ได้
  • อย่าดัดแปลงเครื่องมือไฟฟ้านี้ผิดวัตถุประสงค์ในการใช้งานที่ระบุโดยผู้ผลิตเครื่องมือ การดัดแปลงดังกล่าวอาจส่งผลให้สูญเสียการควบคุมและก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัสได้
  • อย่าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ผู้ผลิตไม่ได้แนะนำให้ใช้ และไม่ได้ออกแบบไว้ให้ใช้เฉพาะกับเครื่องมือไฟฟ้านี้ ด้วย‌เหตุ‌‌เพียง‌เพราะ‌‌ท่าน‌‌สามารถ‌ต่อ‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌เข้ากับ‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ของ‌‌ท่าน‌‌ได้ ก็‌มิได้‌‌เป็น‌การรับรอง‌‌ว่า‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌จะ‌ทำงาน‌‌ได้‌‌อย่าง‌‌ปลอดภัย
  • ความเร็วรอบ‌กำหนด‌ของ‌อุปกรณ์‌ประกอบ‌ต้อง‌เท่ากับ‌ความเร็ว‌รอบ‌สูงสุด‌ที่‌ระบุ‌ไว้บน‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้าเป็นอย่างน้อย อุปกรณ์‌ประกอบ‌ที่‌‌หมุน‌เร็วกว่า‌ความเร็ว‌รอบ‌กำหนด‌ของ‌‌ตัวเอง‌อาจ‌แตก‌และ‌กระเด็น‌ออก‌เป็นชิ้นๆ
  • เส้นผ่าศูนย์กลางรอบนอกและความหนาของอุปกรณ์ประกอบของท่านต้องอยู่ในพิกัดความสามารถของเครื่องมือไฟฟ้าของท่าน อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌ที่‌‌ผิด‌ขนาด‌‌จะ‌ไม่ได้รับ‌การปกป้อง‌‌และ‌‌ควบคุม‌‌อย่าง‌เพียงพอ
  • มิติในการติดตั้งอุปกรณ์เสริมต้องเหมาะสมกับขนาดของฮาร์ดแวร์ยึดของเครื่องมือไฟฟ้า อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌ไม่‌‌เข้าคู่‌กับ‌ส่วน‌ที่ใช้ยึด‌ของ‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า จะวิ่ง‌ไม่‌สมดุล สั่นตัว‌‌มาก และ‌‌อาจ‌‌ทำให้‌สูญเสีย‌การควบคุม
  • อย่าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ชำรุด ตรวจสอบอุปกรณ์ประกอบก่อนใช้งานทุกครั้ง เช่น จานขัดให้ดูรอยบิ่นและรอยแตกร้าว แผ่นหนุนให้ดูรอยแตกร้าว รอยฉีก หรือรอยสึกหรอที่มากเกิน แปรงลวดให้ดูการโยกคลอนหรือการแตกหักของเส้นลวด หากเครื่องมือไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ประกอบตกหล่น ให้ตรวจสอบความเสียหายหรือติดตั้งอุปกรณ์ประกอบที่ไม่ชำรุด หลังจากตรวจสอบและติดตั้งอุปกรณ์ประกอบแล้ว ตัวท่านเองและบุคคล‌‌ที่‌อยู่‌‌ใกล้เคียงต้องอยู่ห่างจากระนาบของอุปกรณ์ประกอบที่หมุน และปล่อยเครื่องมือไฟฟ้าเดินตัวเปล่าที่ความเร็วสูงสุดนานหนึ่งนาที ตาม‌ปกติ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌ชำรุด‌‌จะ‌‌แตก‌ออก‌‌เป็น‌‌ชิ้นๆ ใน‌ช่วง‌‌เวลา‌‌ทดสอบ‌‌‌นี้
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัว ให้ใช้‌กระบัง‌‌ป้องกัน‌‌หน้า ‌แว่นตา‌‌กัน‌ลม‌‌และ‌‌ฝุ่น‌ หรือ‌‌แว่นตา‌‌ป้องกัน‌อันตราย‌โดย‌ขึ้นอยู่กับ‌ลักษณะ‌การทำงาน สวมหน้ากากกันฝุ่น ประกบหูกันเสียงดัง ถุงมือ และผ้ากันเปื้อนสำหรับช่างที่สามารถกันผงขัดหรือเศษชิ้นงานขนาดเล็กตามความเหมาะสม แว่น‌‌ป้องกัน‌‌ตา‌‌ต้อง‌‌สามารถ‌‌หยุด‌‌เศษผง‌‌ที่‌‌ปลิวว่อน‌‌ที่‌‌เกิด‌จาก‌‌การปฏิบัติงาน‌‌ต่างๆ ได้ หน้ากาก‌‌กัน‌‌ฝุ่น‌หรือ‌อุปกรณ์‌ป้องกัน‌ระบบ‌หายใจ‌ต้อง‌สามารถ‌กรอง‌อนุภาค‌ที่‌‌เกิด‌จาก‌‌ปฏิบัติงานบางประเภทได้ การ‌ได้ยิน‌‌เสียง‌ดัง‌‌มาก‌‌เป็น‌‌เวลา‌‌นาน‌‌อาจ‌‌ทำให้‌‌ท่าน‌‌สูญเสีย‌‌การ‌ได้ยิน
  • กันบุคคลที่อยู่ใกล้เคียงให้อยู่ในระยะปลอดภัยห่างจากบริเวณทำงาน บุคคลใดที่เข้ามายังบริเวณทำงานต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันเฉพาะตัว เศษ‌วัสดุ‌‌ชิ้นงาน‌‌หรือ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌แตกหัก‌‌อาจ‌‌ปลิว‌‌ออกมา‌ ‌และ‌‌ทำให้‌‌ได้รับ‌บาดเจ็บ‌‌นอก‌พื้นที่‌ปฏิบัติ‌งาน‌โดยตรง
  • อย่าวางเครื่องมือไฟฟ้าลงบนพื้นจนกว่าอุปกรณ์ประกอบจะหยุดหมุนและนิ่งอยู่กับที่แล้ว อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌หมุน‌‌อยู่‌‌อาจ‌‌เฉี่ยว‌‌ถูก‌‌พื้น‌‌และ‌‌กระชาก‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ออกจาก‌‌การ‌ควบคุม‌‌ของ‌ท่าน
  • อย่าเปิดเครื่องมือไฟฟ้าทำงานขณะถือเครื่องไว้ข้างตัว เสื้อผ้า‌‌ของ‌‌ท่าน‌‌อาจ‌‌เกี่ยวพัน‌‌กับ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน‌‌โดย‌‌ไม่‌‌ตั้งใจ และ‌‌ฉุด‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌เข้า‌หา‌‌ร่างกาย‌‌ของ‌ท่าน‌‌ได้
  • ทำความสะอาดช่องระบายอากาศของเครื่องมือไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ พัดลม‌‌ของ‌‌มอเตอร์‌‌จะ‌ดูด‌‌ผงฝุ่น‌‌เข้าไป‌‌ใน‌‌ตัวเรือน และ‌‌ผง‌โลหะ‌‌ที่‌‌พอก‌‌สะสม‌กัน‌‌มาก‌เกินไป‌อาจ‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌อันตราย‌‌‌ทาง‌ไฟฟ้า‌‌ได้
  • อย่าใช้เครื่องมือไฟฟ้าทำงานใกล้วัตถุติดไฟได้ ประกาย‌ไฟ‌‌สามารถ‌‌จุด‌‌วัสดุ‌เหล่านี้‌‌ให้‌ลุก‌‌เป็น‌ไฟ
  • อย่าใช้อุปกรณ์ประกอบที่ต้องใช้สารหล่อเย็นที่เป็นของเหลว การใช้‌น้ำ‌‌หรือ‌‌สาร‌หล่อ‌เย็น‌‌อื่นๆ ที่‌เป็น‌‌ของ‌เหลว‌อาจ‌‌ทำให้‌‌กระแส‌‌ไฟฟ้า‌‌วิ่ง‌ผ่าน‌‌เข้า‌ตัว‌‌จน‌‌เสีย‌ชีวิต‌‌หรือ‌‌ถูก‌‌ไฟฟ้า‌‌ดูด‌‌ได้

การ‌ตีกลับ‌‌คือ‌‌แรง‌สะท้อน‌‌กะทันหัน‌‌ที่‌‌เกิด‌จาก‌‌จานขัด แผ่นหนุน แปรง และ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌อื่นใด‌‌เกิด‌‌บิด‌‌หรือ‌‌ถูก‌‌เหนี่ยวรั้ง‌‌ขณะ‌‌กำลัง‌‌หมุน การบิด‌‌หรือ‌‌การ‌เหนี่ยวรั้ง‌‌ทำให้‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน‌‌หยุด‌‌กะทันหัน ด้วยเหตุนี้‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ที่‌‌ขาด‌‌การ‌ควบคุม‌‌จึง‌‌ถูก‌ผลัก‌‌ไป‌ใน‌‌ทิศทาง‌‌ตรงกันข้าม‌‌กับ‌‌การหมุน‌‌ของ‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ ณ จุด‌ที่‌‌เกิด‌การ‌‌ติดขัด
ตัวอย่าง เช่น หาก‌‌จานขัด‌‌ถูก‌‌เหนี่ยวรั้ง‌‌หรือ‌‌บิด‌‌โดย‌‌ชิ้นงาน ขอบ‌‌ของ‌‌จานขัด‌‌ที่‌‌ติด‌‌อยู่ใน‌‌จุด‌บิด‌‌อาจ‌‌ขูด‌‌เข้า‌ใน‌‌พื้นผิว‌‌ของ‌‌ชิ้นงาน ทำให้‌‌จานขัด‌‌ปีน‌ออก‌‌หรือ‌ผลักตัว‌ออกมา จานขัด‌‌อาจ‌‌กระโดด‌‌เข้าหา‌‌หรือ‌‌กระโดด‌‌ออกจาก‌‌ผู้ใช้‌‌เครื่อง ทั้งนี้‌‌ขึ้นอยู่กับ‌‌ทิศทาง‌‌เคลื่อนที่‌‌ของ‌‌จานขัด ณ จุดบิด ใน‌สถานการณ์‌‌เช่นนี้‌‌จานขัด‌‌อาจ‌‌แตกหัก‌‌ได้‌ด้วย
การ‌ตีกลับ‌‌เป็น‌ผล‌‌จาก‌‌การใช้‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ใน‌ทาง‌‌ที่ผิด และ/‌‌หรือ‌‌มี‌‌กระบวนการ‌‌หรือ‌‌เงื่อนไข‌‌การ‌ทำงาน‌‌ที่‌‌ไม่‌‌ถูกต้อง และ‌‌สามารถ‌‌หลีกเลี่ยง‌‌ได้‌‌ด้วย‌การ‌‌ป้องกัน‌‌ไว้ก่อน‌‌อย่าง‌‌ถูกต้อง‌ดัง‌‌ระบุ‌ไว้‌‌ด้านล่าง‌นี้

  • จับเครื่องมือไฟฟ้าให้แน่นด้วยสองมือ และตั้งตัวและแขนของท่านให้สามารถต้านแรงตีกลับได้ หากมีด้ามจับเพิ่ม ต้องใช้ด้ามจับเพิ่มร่วมด้วยเสมอ ทั้งนี้เพื่อที่จะสามารถควบคุมการตีกลับหรือกำลังสะท้อนจากแรงบิดขณะสตาร์ทเครื่องได้อย่างเต็มที่ ผู้ใช้‌‌เครื่อง‌‌สามารถ‌‌ควบคุม‌‌กำลัง‌‌สะท้อน‌‌จาก‌‌แรงบิด‌‌หรือ‌‌การ‌ตีกลับ หาก‌ได้‌‌ระมัดระวัง‌‌อย่าง‌‌ถูกต้อง‌‌ไว้ก่อน
  • อย่ายื่นมือของท่านเข้าใกล้อุปกรณ์ประกอบที่กำลังหมุนอย่างเด็ดขาด อุปกรณ์‌ประกอบ‌‌อาจ‌‌ตีกลับ‌มา‌‌ที่‌‌มือ‌‌ของ‌‌ท่าน‌ได้
  • อย่าให้ร่างกายของท่านอยู่ในบริเวณที่เครื่องมือไฟฟ้าจะเคลื่อนเข้าหาหากเกิดการตีกลับ การ‌ตีกลับ‌‌จะ‌‌ผลัก‌‌เครื่องมือ‌‌ไฟฟ้า‌‌ไปยัง‌‌ทิศทาง‌‌ตรงกันข้าม‌‌กับ‌‌การ‌เคลื่อนที่‌‌ของ‌‌จานขัด ณ จุด‌‌เหนี่ยวรั้ง
  • ใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเมื่อทำงานบริเวณมุม ขอบแหลมคม ฯลฯ ป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ประกอบกระเด้งกลับจากชิ้นงานและติดขัด มุม ขอบ‌‌แหลมคม และ‌การ‌กระเด้ง‌กลับ‌‌‌มัก‌จะ‌‌เหนี่ยวรั้ง‌‌อุปกรณ์‌‌ประกอบ‌‌ที่‌‌กำลัง‌‌หมุน และ‌‌ทำให้‌‌สูญเสีย‌‌การควบคุม‌‌หรือ‌ทำให้‌‌เกิด‌‌การ‌ตีกลับ
  • อย่าติดตั้งโซ่เลื่อย ใบมีดแกะสลักไม้ จานตัดเพชรเซกเมนต์ที่มีระยะห่างที่เส้นรอบวงมากกว่า 10 มม. หรือใบเลื่อยแบบมีฟัน ใบเลื่อย‌‌เหล่านี้‌‌ทำให้‌‌เกิด‌‌การ‌ตีกลับ‌‌และ‌สูญเสีย‌‌การควบคุม‌‌บ่อยครั้ง

  • อย่าปล่อยให้แผ่นผ้าบอนเน็ตขัดเงาหลวมหรือเชือกผูกของแผ่นผ้าบอนเน็ตเหวี่ยงหมุนอย่างอิสระ ให้เก็บซ่อนเชือกผูกที่‌‌‌หลวมทั้งหมดหรือตัดออก เชือกผูก‌‌‌ที่‌‌‌หลวม‌‌‌และเหวี่ยงหมุน‌‌‌อาจ‌‌‌พัน‌‌‌นิ้ว‌‌‌ของท่าน‌‌‌หรือ‌‌‌ติดขัด‌‌‌บน‌‌‌ชิ้นงาน‌‌‌ได้

สวมแว่นตาป้องกันอันตราย

จับเครื่องมือไฟฟ้าให้แน่นด้วยมือทั้งสองข้างและตั้งท่ายืนให้มั่นคงขณะทำงาน ท่านจะสามารถนำทางเครื่องมือไฟฟ้าได้ปลอดภัยกว่าเมื่อจับเครื่องด้วยมือทั้งสองข้าง

  • ใช้เครื่องตรวจจับที่เหมาะสมเพื่อตรวจหาสายไฟฟ้าหรือท่อสาธารณูปโภคที่อาจซ่อนอยู่ในบริเวณทำงาน หรือติดต่อบริษัทสาธารณูปโภคในพื้นที่เพื่อขอความช่วยเหลือ การสัมผัสกับ‌สายไฟฟ้า‌อาจทำให้‌เกิด‌ไฟไหม้‌หรือ‌ถูก‌ไฟฟ้าดูด การทำให้‌ท่อแก๊ซ‌เสียหาย‌อาจทำให้‌เกิด‌ระเบิด การเจาะ‌เข้า‌ใน‌ท่อน้ำ‌ ทำให้‌ทรัพย์สิน‌เสียหาย
  • เมื่อแหล่งจ่ายไฟฟ้าถูกขัดจังหวะ ต. ย. เช่น เนื่องจากถอดแบตเตอรี่ออก ให้ปลดล็อคสวิทช์เปิด-ปิด และสับสวิทช์ไปที่ตำแหน่งปิด ในลักษณะนี้‌จะ‌ช่วย‌ป้องกัน‌ไม่ให้‌เครื่อง‌ติดสวิทช์‌อีกครั้ง‌อย่าง‌ควบคุม‌ไม่ได้

 

  • เมื่อแบตเตอรี่ชำรุดและนำไปใช้งานอย่างไม่ถูกต้องอาจมีไอระเหยออกมาได้ แบตเตอรี่อาจเผาไหม้หรือระเบิดได้ให้สูดอากาศบริสุทธิ์และไปพบแพทย์ในกรณีเจ็บปวด ไอ‌ระเหย‌อาจ‌ทำให้‌ระบบ‌หายใจ‌ระคาย‌เคือง
  • ห้ามเปลี่ยนแปลงและเปิดแบตเตอรี่แบบชาร์จได้ อันตราย‌จาก‌การลัด‌วงจร
  • วัตถุที่แหลมคม ต. ย. เช่น ตะปูหรือไขควง หรือแรงกระทำภายนอก อาจทำให้แบตเตอรี่เสียหายได้ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดการลัดวงจรภายในและแบตเตอรี่ไหม้ มีควัน ระเบิด หรือร้อนเกินไป
  • ใช้เฉพาะแบตเตอรี่จากผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิต ในลักษณะนี้ แบตเตอรี่แพ็คจะได้รับการปกป้องจากการใช้งานเกินกำลังซึ่งเป็นอันตราย

ปกป้อง‌แบตเตอรี่จากความร้อน รวมทั้ง ต. ย. เช่น จากการถูกแสงแดดส่องต่อเนื่อง จากไฟ สิ่งสกปรก น้ำ และความชื้น อันตรายจากการระเบิดและการลัด‌วงจร

  • ยึดชิ้นงานให้แน่น การยึด‌ชิ้นงาน‌ด้วย‌เครื่องหนีบ‌หรือ‌แท่นจับ‌จะ‌มั่นคง‌กว่า‌การยึด‌ด้วยมือ